น้องหมาเลือดกำเดาไหล ผอมแห้ง เดินเซ อาการของพยาธิในเม็ดเลือดที่หมาจรส่วนใหญ่ต้องเจอ
โรคพยาธิในเม็ดเลือด
ในตอนที่แอดมินยังเรียนอยู่มหาลัย แอดได้เจอกับสุนัขหน้าร้านสะดวกซื้อตัวหนึ่งมีเลือดกำเดาไหล ซึ่งจากที่ตรวจดูอาการจากสายตาคร่าวๆ น้องหมาก็ดูไม่ได้บาดเจ็บจากการถูกทำร้ายหรือรถชนแต่อย่างใด มีเพียงแค่ร่างกายที่ผอมจนหนังติดกระดูก อาการเดินเซ และตัวสั่น ซึ่งในตอนนั้นแอเองก็รู้สึกสงสารแต่ไม่รู้เหมือนกันว่าจะช่วยเหลือน้องได้อย่างไร ทำได้เพียงแค่ซื้ออาหารซื้อน้ำให้น้องกิน หลายปีต่อมาแอดก็พบว่ามีคนที่เจอน้องหมาที่มีลักษณะอาการแบบเดียวกัน หลายเคส หลายตัวมากๆ และทุกตัวล้วนแต่เป็นหมาจรจัดทั้งสิ้น และแอดก็เชื่อว่าในปัจจุบันนี้ก็ยังมีคนค้นหาอาการเหล่านี้จากกูเกิ้ลอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้แอดจะพาทุกท่านมารู้จักกับโรค พยาธิในเม็ดเลือด โรคที่สุนัขจรจัดทุกตัวต้องเผชิญ
พยาธิเม็ดเลือดมีต้นเหตุมาจากเห็บและหมัดที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่สุนัข สุนัขที่ติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด มักจะมีอาการที่หลากหลายและความรุนแรงก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิและปริมาณของเชื้อที่ติดเชื้อ อาการที่พบบ่อย ได้แก่
- อาการทั่วไป:
- ซึมลง
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- ไข้
- ตัวร้อน
- มีไข้ขึ้นๆ ลงๆ
- อ่อนเพลีย
- ขาดความกระฉับกระเฉง
- อาการทางเลือด:
- โลหิตจาง ทำให้เหงือกซีด
- มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรืออวัยวะภายใน
- เลือดกำเดาไหล
- อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- อาการทางระบบประสาท:
- อัมพาต
- ชัก
- มึนงง
- เดินเซ
- ตาบอด
นอกจากนี้ อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่
- สีตัวเหลือง: เกิดจากการที่ตับทำงานผิดปกติ
- บวม: โดยเฉพาะบริเวณขา
- หายใจลำบาก
สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ อาการของโรคพยาธิในเม็ดเลือดอาจคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ การที่เราพบเห็นน้องหมามีอาการดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น อาจไม่ได้หมายความว่าน้องหมาจะเป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือดขาวเสมอไป ดังนั้น การวินิจฉัยที่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องอาศัยการตรวจเลือดและการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆจึงจะสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าน้องหมาเป็นโรคอะไร ดังนั้นเราจึงไม่ควรวินิจฉัยด้วยตัวเองหรือไปซื้อยามาให้น้องหมากินเพราะนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการรักษาที่ต้นเหตุแล้ว น้องหมาอาจจะไม่หายหรืออาการแย่ลงจากตัวยาที่ซื้อมาอีกด้วย
หากสุนัขของคุณมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง หากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้สุนัขเสียชีวิตได้
การป้องกันโรคพยาธิในเม็ดเลือด
- กำจัดเห็บหมัด: เนื่องจากเห็บและหมัดเป็นพาหะนำโรค ควรทำการกำจัดเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอ
- ให้ยาป้องกันพยาธิ: ควรให้ยาป้องกันพยาธิตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
- พาสุนัขไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ: เพื่อตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้น
การรักษาโรคพยาธิในเม็ดเลือด
การรักษาโรคพยาธิในเม็ดเลือดจะขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิและความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อกำจัดพยาธิ และอาจต้องให้ยาเสริมอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือยาบำรุงเลือด